วิ่ง

♡ ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานของณัฐชา ได้เลยคะ ♡

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

กฎหมายในชีวิตประจำวัน

                                    กฎหมายอาญา

               โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึ อ่านเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                                                   พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

1.ความหมายของพรรคการเมือง (Political Party)  
           ตอบ   ความหมายของพรรคการเมืองมีอยู่หลายประการแต่เราจะยกมาแค่ 3 ประการ
1.เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน   2.มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน 3ป.มีวัตถุประสงค์ให้ได้มา อ่านเพิ่มเติม

ระบอบการเมืองการปกครอง

ลักษณะทางด้านการเมือง การปกครอง

             ลักษณะทางด้านการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน จัดได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหาษัตริย์เป็นประมุข มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันก็อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนสมัยก่อน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญรัฐบาลมาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการเลือกตั้งมากทึ่สุดเป็นผู้รับผิดชอบจัดตั้งรัฐบาลซึ่งอาจเป็นรัฐบาลพรรคเดียวหรือหลายพรรคผสมกันก็ได้ แต่ก็น่าสังเกตว่า ตั้งแต่มีการ อ่านเพิ่มเติม


สิทธิมนุษย์ชน

                                                    สิทธิมนุษยชน
           เป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และเสมอภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม

คุณลักษณะพลเมืองดี

1. เคารพกฎหมาย
2. เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก
4. มีเหตุผล ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นเสมอ
5. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6. มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่
7. มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางการเมืองการปกครอง

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของไทย

วัฒนธรรมภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น


วัฒนธรรมภาคเหนือ
ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า ธุง ในภาษาท้องถิ่นอีสาน มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ธง ไว้ว่า “ ธง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษหรือ สิ่งอื่น ๆ ก็มีสำหรับใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ เครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เครื่องหมายเดินทะเล อาณัติสัญญาณ ตกแต่ง สถานที่ในงานรื่นเริงหรือกระบวนแห่ …” การใช้ตุงทางภาคเหนือ อ่านเพิ่มเติม



วัฒนธรรมภาคอีสาน
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมภาคใต้
ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก

การขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอตชีวิต  เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี
การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้  2  ประเภท
1.  การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง
  เช่นการอบรมสั่งสอน  ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด  สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร  หรือสอนให้เรียกพี่ 
น้อง  ปู่  ย่า  เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม   เช่น  การอ่านหนังสือพิมพ์  การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์  ตลอดจนการดูภาพยนต์  ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ  และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก อ่านเพิ่มเติม